Pages

Thursday, November 17, 2011

เริ่มต้นอย่างไร จะมีชัยในการเงิน

เริ่มต้นอย่างไร  จะมีชัยในการเงิน



             ปัจจุบันความรู้ทางด้านการเงินการลงทุนนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่แพ้ความรู้ในด้านอื่นๆเลย แต่เรามักจะมองข้ามความรู้ในด้านนี้ไป  นี้เป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงยัีงไม่รวยสักที   สิ่งหนึ่งที่คนรวยมีซึ่งแตกต่างจากคนทั่วไปก็คือ ความรู้ด้านการเงิน  ถ้าจะเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ก็ยังนับว่าไม่สายจนเกินไป  ลองถามตัวเองดู อยากรวยมั๊ย คำแนะนำนี้อาจจะเป็นแนวทางสำหรับผู้เริ่มต้นในการเรียนรู้ทางด้านการเงิน ซึ่งหวังว่าคงจะิเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้ยอ

เข้าร่วมสัมมนาทางด้านการเงิน 3 เดือนต่อครั้งเป็นอย่างน้อย

สัมมนาเกี่ยวกับการเงินการลงทุนมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นตามมหาวิทยาลัย ตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือตามอินเตอร์เนต ซึ่งมันจะทำให้เรามีความรู้ทางด้านการเงินมากยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังเป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นให้เรามีไฟที่จะเดินหน้าต่อไปในด้านการเงิน ซึ่งผู้ที่มาให้ความรู้นั้นก็ล้วนแล้วแต่ประสบความสำเร็จมาแล้วทั้งสิ้น บางครั้งเป็นสัมมนา ออนไลน์ ก็มีให้เห็นบ้าง

สมัครเป็นสมาิชิกวารสาร หรือ นิตยสารทางด้านการเงินบ้าง

จะเป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นเราและทำให้เรามีความรู้ทางการเงินมากขึ้น หนังสือนิตยสารประเภทนี้ัก็มีให้เห็นกันอยู่้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การเงินการธนาคาร  การเงินการลงทุน ฯลฯ จ่ายค่าสมัครสมาชิกเพียงแต่ไม่กี่บาทแต่คุณค่าของมัีนจะอยู่ที่สิ่งที่เราจะได้รับ ซึ่งไม่สามารถประเมินค่าออกมาเป็นราคาได้

อ่านสรุปข่าวเศรษฐกิจและการเงินในหนังสือพิมพ์บ้าง

การที่เราอ่านข่าว โดยเฉพาะข่าวที่เกี่ยวข้องกับการเงินจะเป็นการสรุปเหตุการณ์ต่างๆอย่างสั้นๆ การที่เราได้อ่านบ่อยๆ มันจะทำให้เราคุ้นเคยกับข่าวและสามารถพูดคุยกับคนอื่นได้ ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น บริษัทขาดทุน และลองสร้างสถานการณ์สมมุิติหากเราเป็นผู้บริหารบริษัท จะมีวิธีในการแก้ปัญหาอย่างไร


คุยกับความที่มีความรู้ด้านการเงินมากกว่า

การที่ได้คุยกับผู้รู้ โดยเฉพาะผู้ทีมีความรู้ด้านการเงินมากกว่าเรา เราจะได้เปรียบมากเพราะเป็นการได้ตักตวงเอาความรู้ที่ได้ผ่านกระบวนการมาแล้ว เพียงแต่นำมาิคิดพิจารณาให้รอบคอบเ่ท่านั้น ขอคำแนะนำหรือถามถึงการวางแผนการเงินส่วนบุคคลบ้าง และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเรา

นี้เป็นเพียงคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นที่มาสนใจเี่กี่ยวกับการเงิน ซึ่งจะเป็นการปูทางนำไปสู่ผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านการเงิน ซึ่งคนไทยยังขาดอยู่มาก น่าเสียดายที่ไม่มีการจัดหลักสูตรนี้ลงไปให้เพียงพอในโรงเรียนประถม  เพราะในอนาคตอาจจะมีคน "เก่งความรู้ โง่การใช้เงิน"  เป็นพลเมืองหลักของชาติก็เป็นได้

ธนารักษ์ หมู่มี

Sunday, April 17, 2011

หน้าที่หลักของฝ่ายการเงิน The Financial Staff''s Responsibilities

ในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินจะทำหน้าที่ในการจัดการการเงิน และจะมีอยู่แทบทุกองค์กร ดัีงนั้นหน้าที่หลักๆ ของฝ่ายการเงินมีดังนี้คือ

1. พยากรณ์และวางแผนทางการเงิน  โดยจะประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ในบริษัทเพื่อวางแผนในอนาคตว่ากิจการจะดำเินินไปในทิศทางใด

2. ตัดสินใจลงทุนและจัดหาเงินทุน ซึ่งการเพิ่มยอดขายให้กับบริษัทนั้นเป็นสิ่งจำเป็น จึงต้องมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ฝ่ายการเงินจะต้องตัดสินใจว่าจะลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าวมากน้อยอย่างไร  จะจัดหาแำหล่งเงินทุนจากแำหล่งเงินทุนระยะสั้นหรือระยะยาว เพื่อให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุดในการจัดการการเงิน

3. ประสานงานและควบคุม โดยจะต้องประสานงานกับฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต เพราะการดำเนินงานของฝ่ายต่างๆ จะกระทบการการเงินเสมอ

4. การติดต่อกับตลาดทางการเงิน ซึ่งเป็นแำหล่งระดมทุน

5. การจัดการความเสี่ยง ความเสี่ยงที่ธุึรกิจต่างๆที่จะต้องเผชิญมีหลายประเภท เช่น ภัยธรรมชาติ อัตราแลกเปลี่ยน แต่ก็มีวิธีการป้องกันความเสี่ยงได้

ซึ่งนี่ก็เป็นหน้าที่หลักของฝ่ายการเงิน ซึ่่งโดยรวมและจะทำให้การจัดการการเงินของบริษัทมีประสิทธิภาพ และช่วยให้กิจการมีกำไรได้สูงสุด

Friday, April 15, 2011

การจัดการการเงินในอดีตจนถึงปัจจุบัน

แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการการเงินในอดีตจนถึงปัจจุบันสรุปได้ดังนี้

1. ช่วงต้นทศวรรษ 1900s วิชาการเงินได้เิริ่มตั้งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง เรียกว่า ศาสตร์สาขาการเงิน โดยมุ่งเน้นเรื่องกฎระเบียบต่างๆ ของการรวมกิจการ และคิดริเริ่มมีหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ออกจำหน่ายเพื่อระดมทุน

2. ช่วงทศวรรษ 1930s เป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศสหรัฐอเมริกา วิชาการเงินจึงมุ่งเน้นเรื่องการล้มละลาย การปรับปรุงองค์กร การจัดการสภาพคล่อง และการกำหนดกฎระเบียบต่างๆ ของตลาดหลักทรัพย์

3. ช่วงทศวรรษ 1940s - 1950s วิชาการเงินเริ่มเน้นทฤษฎีทางการเงิน มีแนวคิดเรื่องการสร้างมูลค่าสูงสุดให้กิจการและแนวความคิดนี้ยังคงใช้อยู่จนปัจจุบันนี้

4. ในทศวรรษที่ 21  ก็ยังคงให้ความสำคัญของการเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กิจการ แต่จะมีแนวความคิดเพิ่มขึ้นอีก 2 ประการ คือ
        

  •       ธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์
  •       การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   
เป็นการเปิดโอกาสในการทำกำไรเพิ่มขึ้นและลดความเสี่ยง

เรียนจบการเงิน ไปทำอะไร?

เมื่อเรียนจบการเงิน ไม่ต้องกลัวว่าจะตกงาน เพราะจบสาขานี้แล้วจะมีงานรองรับอยู่ในทุกๆบริษัท หรือทุกๆหน่วยงาน แต่ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีอาชีพทางการเงินหรือไม่ต้องการจะมีอาชีพทางการเงินก็ควรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกัีบการจัดการการเงินเพราะมีประโยชน์มากคือ

1.  สามารถนำความรู้จากวิชานี้ไปช่วยตัดสินใจในเรื่องของตนเองได้ เ่ช่น กรณีถ้าเรามีเิงินเก็บอยู่จำนวนหนึ่ง ถ้านำไปฝากธนาคารก็จะได้รับดอกเบี้ยต่ำ (ไม่คุ้มกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น) เมื่อได้ศึกษาวิชานี่้แล้ว ก็มีความคิดในการนำเงินนี้ไปลงทุนในทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคาร

2. ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ไม่ว่าจะทำงานด้านบัญชี การตลาด การผลิต ฯลฯ ต้องอาศัยความรู้ด้านการจัดการการเงินช่วยส่งเสริมในการตัดสินใจได้ดีทั้งสิ้น


การจัดการการเงิน

การจัดการการเงิน หรือ การเงินธุรกิจ เป็นงานที่มีขอบข่ายกว้าง และเป็นงานที่มีความสำคัญในธุรกิจทุกประเภท ทั้งธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงิน อุตสาหกรรมต่างๆ การค้าส่ง การค้าปลีก โรงเรียน โรงพยาบาล แม้แต่หน่วยงานต่างๆ ของรัฐ

งานจัดการทางการเงิน จะมีตั้งแต่ การพิจารณาขยายโรงงาน เปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ การกำหนดนโยบายการขายเชื่อ การกำหนดปริมาณสินค้าคงเหลือที่เหมาะสม จำนวนเงินสดขั้นต่ำที่ควรมีไว้ในธุรกิจ การจัดหาเงินทุนโดยการออกจำหน่ายหลักทรัพย์ต่างๆ การรวมกิจการเข้าไว้ด้วยกัน